การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ arincare.com ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งนโยบายฉบับนี้ บริษัท อรินแคร์ จำกัด จัดทำขึ้น เพื่อให้ความเข้าใจถึงแนวทางปฏิบัติของเราในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Information) ของผู้ใช้บริการทุกท่าน ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซต์ arincare.com หรือสมัครเข้าใช้บริการของ arincare.com ดังนี้ เพื่อประโยชน์และความเข้าใจในการใช้บริการจากทางเรา ขอท่านได้โปรดอ่านและทำความเข้าใจเอกสารฉบับนี้โดยละเอียด ทั้งนี้ การติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์ หรือสมัครเข้าใช้บริการของ arincare.com ถือว่าท่านยินยอมผูกพันตามนโยบายฉบับนี้ทุกประการ คำจำกัดความใด ๆ ที่ปรากฏในนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน เงื่อนไขการใช้บริการ arincare.com
arincare.com ให้บริการซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าระดับสากล ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจ และที่ปรึกษาด้านการบัญชีสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงินและบัญชีได้ด้วยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย เพื่อความสะดวกในการให้บริการดังกล่าว arincare.com มีความจำเป็นต้องจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ เช่น ชื่อ, อาชีพ, หมายเลขบัตรประชาชน, ที่อยู่, ที่ทำงาน, รหัสไปรษณีย์, หมายเลขโทรศัพท์, อีเมลล์, ข้อมูลทางด้านภาษี, ข้อมูลด้านการบัญชีและการเงิน, ข้อมูลการจดทะเบียนทางการค้า, ข้อมูลบัตรเครดิต และ อื่นๆ เป็นต้น
2.1 สมัครใช้บริการ
2.2 ใช้บริการ
2.3 มีการติดต่อเข้ามายังหน่วยให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน (Support team)
2.4 มีการเข้าชมเว็บไซต์ ท่านมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแก่ arincare.com แต่การกระทำเช่นนั้นหมายความว่าท่านจะไม่สามารถใช้บริการใดๆของ arincare.com ได้
3.1 เมื่อท่านสมัครใช้บริการใด ๆ ของ arincare.com ถือว่าท่านยินยอมให้ arincare.com เก็บและใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการใช้บริการ และตามที่กำหนดไว้ในนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้เท่านั้น
3.2 arincare.com จะใช้ข้อมูลส่วนตัวของท่านเพื่อประโยชน์แก่การดังต่อไปนี้
เพื่อให้ arincare.com บรรลุวัตถุประสงค์สำเร็จลุล่วงในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องเก็บ Password ของท่านไว้เป็นความลับ และท่านมีหน้าที่แจ้งให้ arincare.com ทราบในทันทีที่ท่านพบหรือทราบว่ามีการใช้ Password ของท่านโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในกรณีที่ท่านให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกแก่ arincare.com ถือว่าท่านให้การรับประกันว่าท่านกระทำไปโดยมีสิทธิ หรือได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลให้กระทำเช่นนั้น และท่านอนุญาตให้ arincare.com จัดเก็บ ใช้ คัดลอก ข้อมูลดังกล่าวได้ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ทั้งนี้ท่านมีหน้าที่ในการแจ้งให้บุคคลภายนอกดังกล่าวทราบถึงการกระทำดังกล่าวและนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว arincare.com ด้วยตัวท่านเอง arincare.com ไม่มีความรับผิดใดๆต่อบุคคลภายนอกและไม่มีหน้าที่ใดๆในการแจ้งให้บุคคลภายนอกทราบถึงเหตุดังกล่าว
ความลับและข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง arincare.com จะไม่เปิดเผยความลับหรือข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่บุคคลภายนอกหรือองค์กรอื่นใด ไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ เว้นแต่
การสมัครใช้บริการของ arincare.com ถือว่าท่านอนุญาตให้ arincare.com เข้าถึง หรือใช้ข้อมูลประเภทที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ ในการต่อไปนี้
arincare.com ใช้บริการของ Cloud ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำของโลก ประกอบการให้บริการของ arincare.com เพื่อการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลอื่นๆของผู้ใช้บริการ ดังนั้น การสมัครเข้าใช้บริการของ arincare.com ถือว่าท่านยอมรับว่าข้อมูลของท่านจะถูกเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล ของ Cloud ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ
arincare.com รักษามาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการปกป้องความเสียหาย หรือการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยไม่มีอำนาจ arincare.com ใช้ระบบฐานข้อมูล Cloud ที่ได้มาตรฐานสากลของ ซึ่งมีการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลเทียบเท่าระดับสากล เว็บไซต์มีการเข้ารหัส SSL เพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูลระหว่างเว็บไซต์กับระบบฐานข้อมูล
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นส่วนตัว ท่านมีสิทธิเลือกที่จะให้มีการใช้หรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรืออาจเลือกที่จะไม่รับข้อมูลหรือสื่อทางการตลาดใดๆ จาก เว็บไซต์ ก็ได้ โดยเพียงแต่กรอกความจำนงดังกล่าวเพื่อแจ้งให้ arincare.com ทราบตามช่องทางต่างๆที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์
ในกรณีที่ท่านมีปัญหา ข้อสงสัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อติชมใดๆ เกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หรือการปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ arincare.com ยินดีที่จะตอบข้อสงสัย รับฟังข้อเสนอแนะ และคำติชมทั้งหลาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการให้บริการต่อไป โดยท่านสามารถติดต่อกับ arincare.com ได้ผ่านทางช่องทางต่างๆตามที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์
การจำกัดความรับผิด หรือยกเว้นความรับผิดของ arincare.com ให้ถือตามที่กำหนดไว้ใน เงื่อนไขการใช้บริการ
โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้บริการอ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวทุกครั้งที่แวะชม หรือเยี่ยมชม หรือมีการใช้บริการจากเว็บไซต์ของ arincare.com
นิยาม ความลับผู้ป่วย คือข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยทุกอย่าง โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพหรือการรักษาพยาบาล เช่น การตรวจวินิจฉัยโรค อาการของโรค ยาที่ใช้รักษา และถ้าหากเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่เป็นไปตามปกติหรือมีผู้กระทำ เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยไปแล้วอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอายหรือถูกคุกคามชีวิต เช่น กรณีผู้ป่วยถูกข่มขืน ถูกทำร้ายร่างกาย หรือใช้ยาที่สังคมรังเกียจ เช่น ยารักษาโรคเรื้อน ยาวัณโรค ยาเอดส์ เป็นต้น ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ถือว่าเป็นความลับเฉพาะตัวของผู้ป่วยที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ผู้ใดเปิดเผยโดยไม่มีสิทธิจึงอาจเป็นการกระทำผิดฐานเปิดเผยความลับได้
เวชระเบียน (medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ที่รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย โดยเป็นประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล ซึ่งบันทึกโดยแพทย์ และหรือผู้เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล การบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวและข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย ข้อมูลต่าง ๆ ในเอกสารนี้จึงเป็นความลับส่วนตัวของผู้ป่วยนั้น ๆ ที่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ไม่มีสิทธิตามกฎหมายจะล่วงละเมิดมิได้ ทางด้านกฎหมายก็มุ่งคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลโดยให้ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคล ใครจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่เจ้าตัวเขายินยอมหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผยเท่านั้น ประวัติการใช้ยาและประวัติสุขภาพ (Patient Profiles) ที่บันทึกในร้านยาก็ถือได้ว่าเป็นลักษณะหนึ่งของเวชระเบียนเช่นกัน
ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
ความผิดฐานเปิดเผยความลับผู้ป่วยมาตรา323 ตามประมวลกฎหมายอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับ 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่
โดยเหตุที่ประกอบอาชีพแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช
หมอความ ทนายความหรือผู้สอบบัญชี หรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้น
แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ในวรรคสองบัญญัติว่า “ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก
เปิดเผยความลับของผู้อื่นอันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น
ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน”
ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ผู้รับบริการมาเปิดเผยให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ
(รวมทั้งผู้ที่เป็นเจ้าพนักงาน เช่น บุคลากรด้านสาธารณสุข)
เพื่อหาวิธีแก้ไขเยียวยาปัญหาของตน เป็นข้อมูลที่เป็นความลับ
ผู้รับบริการเปิดเผยให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทราบเท่านั้น
ไม่ประสงค์จะให้บุคคลที่สามรู้ข้อมูลนี้
หากผู้ประกอบวิชาชีพหรือเจ้าพนักงานนำไปเปิดเผยแล้วยังความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
(รวมทั้งผู้รับบริการนั้นด้วย)
ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับอันเนื่องจากการประกอบอาชีพ
จึงมีความผิดกฎหมายอาญามาตรานี้ได้
ผู้ประกอบวิชาชีพตามมาตรานี้ระบุชัดเจนรวมถึงทั้งผู้ที่เป็นเภสัชกร
เป็นคนจำหน่ายยาทั่วไปที่ไม่ใช่เภสัชกร และผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพ
(นักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่ฝึกงานในร้านยานั่นเอง) นั้นด้วย จึงเห็นได้ว่า
ข้อมูลของลูกค้าที่มาซื้อยาถือเป็นความลับของผู้มารับบริการตามกฎหมายอาญานี้
ซึ่งก็น่าจะรวมไปถึง “ประวัติการใช้ยา หรือประวัติลูกค้า” ที่มีการบันทึกไว้ในร้านยาด้วย
เปิดเผยความลับด้านสุขภาพ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 7 บัญญัติว่า “ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล
ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง
หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ
ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้”
มาตรา 49 บัญญัติว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้”
กฎหมายดังกล่าว
เห็นว่ามีเจตนามุ่งคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลโดยให้ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคล
ใครจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
เว้นแต่เจ้าตัวเขายินยอมหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผยเท่านั้น
สิทธิผู้ป่วยเกี่ยวกับความลับด้านสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขและสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ร่วมกันประกาศสิทธิของผู้ป่วย
เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2541 ข้อ 7 ว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด
เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย”
และข้อ 9 ว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ
ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น” จะเห็นได้ชัดว่า ตัวผู้ป่วยเองก็มีสิทธิเพียงรับทราบข้อมูลเฉพาะของตนเท่านั้น
หามีสิทธิล่วงรู้ถึงข้อมูลบุคคลอื่นไม่
เพราะอาจจะละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่นได้เช่นกัน
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล
เช่น ประวัติสุขภาพ
และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย”
มาตรา 24 บัญญัติว่า “หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น
โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้
เว้นแต่เป็นการเปิดเผย
ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน
การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตามต่อศาล
และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว”
มาตรา 25 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15
บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ
หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสาร
ส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และให้นำมาตรา 9 วรรคสอง และวรรคสาม
มาใช้บังคับโดยอนุโลม... ให้บุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตามมาตรา
23 มาตรา 24 และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
มาตรา 99 (1) บัญญัติให้กรรมการสอบสวนให้มีอำนาจเรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ
หน่วยงานอื่นของรัฐ ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน